![]() |
ลาน Outdoor ห้างพรอมมินาด้า เชียงใหม่ (ที่มาภาพ) |
ซึ่งในความจริงแล้วมันไม่ใช่
หากลองชั่งน้ำหนักดูและเปรียบเทียบข้อดีกับข้อเสีย ศูนย์การค้าและพวกคอมมิวนิตี้มอล มีข้อดีเยอะกว่าข้อเสียพอสมควร เพราะว่าหากมองจากมุมมองผู้ออกแบบผังเมือง คุณสมบัติหลักของห้างคือมันเป็นศูนย์กลางให้กับชุมชน (town centre) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่กำลังพัฒนาที่ยังมีโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับกิจกรรมของชุมชนและการวางผังเมืองที่ไม่ดีพอ
![]() |
La Ramblas ถนนหลักของกรุงบาร์เซโลน่า คาตาลุนย่า สเปน |
![]() |
Federation Square ในกรุงเมลเบิร์น, ออสเตรเลีย |
ศูนย์การค้า ซึ่งเป็นนวัตกรรมจากอเมริกา จึงได้มาเติมเต็มส่วนที่เราขาดไป มาแทนที่ถนนช็อปปิ้งและจัตุรัสกลางเมือง มารับหน้าที่เป็นศูนย์กลางของชุมชนให้แทน เวลาเราเจอเพื่อนหรือนัดเจอคนรู้จัก ส่วนใหญ่แล้วคำตอบเราก็คงหนีไม่พ้นการนัดเจอกันในห้างใช่ไหมล่ะครับ?
ส่วนประเด็นเรื่อง "ห้าง" -vs- "สวนสาธารณะ" นี่ หากดูจากเคสของเมืองไทย เรื่องนี้มันอยู่ที่ว่ารัฐจะยอมเอาเงินออกมาจ่ายเพื่อซื้อที่ หรือเวนคืนที่ดินผืนที่จะกลายเป็นห้างคืนมาทำเป็นสวนให้ประชาชนไหม? เพราะมันเป็นเรื่องปรกติที่ที่ดินที่มีเอกชนเป็นเจ้าของ ย่อมถูกพัฒนาเพื่อนำมาต่อยอดทางธุรกิจ มากกว่าการทำให้ชุมชนโดยไม่สามารถต่อยอดทางธุรกิจได้ ซึ่งเรื่องนี้อาจจะต้องโทษเหตุการณ์ในเมืองไทย ที่ทำให้รัฐแทบไม่มีที่ดินเป็นของตัวเองเหลืออยู่เลย ต่างกับในยุโรปที่รัฐบาลเองไม่ว่าจะเป็นระดับท้องถิ่นหรือระดับชาติถือที่ดินไว้ในมือเยอะมาก
![]() |
อาคารจอดรถสาธารณะที่รัฐบาลก่อสร้างไว้ให้ประชาชนได้ใช้ คือหนึ่งในสิ่งที่เราแทบไม่เห็นในเมืองไทย เพราะรัฐไม่มีที่ดินเหลือในเมือง |
อีกอย่าง การพัฒนาห้างกับพื้นที่สาธารณะที่มีผืนต้นไม้เยอะ ๆ มาก ๆ จริง ๆ แล้วก็สามารถทำได้ ความเจริญไม่ได้หมายความว่าพื้นที่สีเขียวต้องหายไปเสมอ
ประเด็นสุดท้าย ที่ผมเคยได้ยินมา ที่เวลาพอมีคนกรุงเทพคนหนึ่งมาเที่ยวเชียงใหม่ สิ่งแรกที่แกบ่นคือเชียงใหม่เดี๋ยวนี้แย่ มีแต่ห้าง ความเป็นเชียงใหม่สูญหายไปหมดแล้ว ในฐานะคนต่างจังหวัด ผมก็แสดงความเห็นได้ว่า คุณอยากให้ต่างจังหวัดเขาพัฒนาเมืองเพื่อสนองความฟินของคนกรุงเทพเท่านั้นเหรอ?
คนที่ทัศนคติแบบนี้ ควรลองจินตนาการมุมมองของคนในท้องที่นั้น ๆ ด้วย ว่าเขาก็ต้องการพัฒนาเช่นกัน แล้วลองคิดดูว่าคุณเอาเกณฑ์อะไรไปตัดสินว่าทำไมท้องที่นั้น ๆ ถึงไม่ควรมีห้าง
บางคนอาจจะยกประเด็นที่ว่าการมาของห้าง เป็นการทำลายธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กของคนในชุมชนหรือท้องที่ เพราะว่าห้างจะแย่งลูกค้า และใช้การแข่งขันที่มีต้นทุนต่ำกว่าในการทำให้ธุรกิจท้องถิ่นเอาตัวรอดไม่ได้ ประเด็นนี้จริง ๆ แล้วเป็นคนละประเด็น ที่เราต้องมาถกเถียงกันแยกต่างหากเพราะว่ามันมีตัวแปรมากกว่าเรื่องของห้าง แต่จะมีเรื่อง "ร้านอะไร(ในห้าง)ทำร้ายธุรกิจท้องถิ่น" (ซึ่งประเด็นนี้มันมีทางออก: นั่นคือคอมมิวนิตี้มอล ซึ่งก็เป็นห้าง แต่เป็นห้างที่เกิดจากท้องถิ่นได้ด้วย)
สรุปสั้น ๆ การมีห้างเยอะไม่ใช่ว่าเป็นข้อเสียให้กับบ้านเมือง แต่ในหลายกรณีมันเป็นการตอบโจทย์ให้กับบ้านเมืองที่ขาดพื้นที่ให้เป็นศูนย์กลางชุมชนเสียมากกว่า เพียงแต่ในกรณีของห้าง เอกชนทำหน้าที่แทนรัฐบาล และรับความเสี่ยงทางตลาดแทนรัฐบาลอีกด้วย
![]() |
กาดหลวง (ตลาดสด) คือศูนย์กลางชุมชนรูปแบบหนึ่ง (ที่มาภาพ) |
- - - - -
ป.ล. 2 เรื่องของพื้นที่สีเขียว ถ้าหากต้องการถกเถียงกันจริง ๆ มันต้องไม่โจมตีเพียงแค่ห้าง แต่ต้องโจมตีสิ่งก่อสร้างทุกชนิด ซึ่งรวมถึงบ้านเดี่ยวเพื่อการอยู่อาศัย ตึกแถว โรงเรียน วัด และคอนโดด้วยครับ ซึ่งเอาจริง ๆ เป็นอีกประเด็นเกี่ยวกับการจัดการผังเมืองที่น่าสนใจเช่นกัน เอาไว้วันหลังผมจะกลับมาเขียนถ้ามีเวลาครับ ^^
ป.ล. 3 เรายังไมไ่ด้เริ่มพูดถึงผลดีต่อเศรษฐกิจด้วยนะครับ แต่คิดว่ายาวเกินไปละ :p
- - - - -
TL;DR ยาวไปกรูไม่อ่าน
- ข้อดีห้างเยอะกว่าข้อเสีย ทำหน้าที่แทนศูนย์กลางของชุมชน ไม่ใช่แค่การค้าขายอย่างเดียว
- เมืองนอกรัฐถือที่ดินกลางเมืองเยอะ ง่ายต่อการจัดสรรที่เพื่อชุมชน
- เมืองนอกอากาศเย็น ทำจัตุรัสมาแล้วคนใช้เยอะ อากาศร้อนทำไปคนก็ไม่ใช้
- ห้าง ไม่ได้ทำให้พื้นที่สีเขียวหายไป การทำห้างให้เข้ากับพื้นที่สีเขียวพร้อม ๆ กันทำได้
- ต่างจังหวัดมีห้างไม่ได้แปลว่าจะสูญเสียอัตลักษณ์ของตัวเองไป
อ่านแล้วผมกลับนึกต่อถึงสถานการณ์ในสหราชอาณาจักร ที่มักมองกันว่าศูนย์การค้าขนาดใหญ่เป็นสาเหตุของความเสื่อมถอยของศูนย์กลางเมืองดั้งเดิม เพราะดึงผู้คนและกิจกรรมการค้าขายออกไปจาก high street
ReplyDeleteถูกต้องครับ ผมเลยติดวงเล็บไว้ข้างบนว่าถ้าห้างมาแล้ว high street ดันยาก แต่ก็ใช่ว่า high street จะดึงคนกลับไม่ได้ literature ใหม่ๆเริ่มมีเรื่องห้างเจ๊งเพราะการกลับมาของ high street ครับ
ReplyDelete