- ถ้าไม่มีกระเป๋าโหลดใต้ท้องเครื่อง สามารถเดินขึ้นเครื่องได้เลย ไม่ต้องต่อคิวเช็คอิน
- ถ้ามีกระเป๋าโหลด ก็ยังสามารถต่อคิวพิเศษที่หลายสายการบินจัดให้ (คิว Bag Drop)
- สำหรับสายการบินที่ไม่ให้ผู้โดยสารเลือกที่นั่งได้ตอนซื้อตั๋ว ผู้โดยสารสามารถล็อกที่นั่งได้ก่อนคนที่จะไปต่อคิวที่สนามบินผ่านหน้าเว็บ
![]() |
Bag Drop ในไทยส่วนใหญ่แล้วคิวสั้นพอ ๆ กับ Business Class เลย |
โดยสิ่งที่ผู้โดยสารจำเป็นต้องมีอย่างน้อยคือปริ้นเตอร์ เพื่อที่จะใช้พิมพ์ Boarding Pass หรือบัตรที่นั่งเพื่อให้พนักงานสามารถสแกน ตัด หรือฉีกไปตรวจสอบได้ที่หน้าประตู
![]() |
Boarding Pass ที่ต้องปริ้นเองที่บ้านของแอร์เอเชีย (ภาพขโมยเว็บเขามา) |
เข้าเรื่อง Mobile Boarding Pass
เมื่อถึงยุคที่เราใช้สมาร์ทโฟนกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น ทุกสายการบินก็เข็นบริการเช็คอินออนไลน์ที่สามารถทำผ่านมือถือได้กันออกมา และสิ่งที่ตามมาก็คือ Mobile Boarding Pass หรือบัตรที่นั่งที่สามารถเก็บไว้ในมือถือเพื่อเอาไปโชว์ให้พนักงานหน้าประตูแทน Boarding Pass กระดาษได้
ความสะดวกของ Mobile Boarding Pass คือผู้โดยสารลดจำนวนสิ่งของที่ต้องพกติดตัวขึ้นเครื่องบิน ไม่ต้องกลัวว่าจะเผลอทำ Boarding Pass หล่นหาย หรือลืมเอามาอีกต่อไป (แต่เอาจริง ๆ ต้องภาวนาขอให้แบตเตอรี่มือถืออย่าหมดระหว่างทางแทน อิอิ)
สำหรับผู้โดยสารผู้ชายอย่างผม ก็สะดวกตรงที่ต่อไปนี้จะเข้าห้องน้ำฉี่ที่สนามบินแล้วล้างมือ ไม่ต้องกลัวมือเปียก ๆ ไปจับ Boarding Pass แบบกระดาษอีกต่อไป (คือสนามบินในเมืองไทยทิชชูเช็ดมือชอบหมด ไม่ก็ไม่มี เครื่องเป่าก็กาก)
![]() |
โฆษณา Mobile Boarding Pass นกแอร์ DD มาเอง แต่แกรมม่ายังผิด |
แล้วทำไมถึงคิดว่าการใช้ Mobile Boarding Pass ในประเทศไทยถึงยาก?
ปรกติแล้วเวลาผมเดินทางระหว่างกรุงเทพและเชียงใหม่เป็นประจำอยู่แล้ว และได้ลองมาทุกสายการบินแล้วด้วย โดยแต่ละครั้งผมก็จะเลือกใช้ Mobile Boarding Pass เป็นประจำด้วยเหตุผลที่ว่าไว้ข้างบน ผมพอสรุปได้ครับว่าการเดินทางโดยใช้ Mobile Boarding Pass จริง ๆ แล้วมันรุงรัง และยากกว่าการใช้ Boarding Pass แบบกระดาษแบบที่เราปริ้นมาจากที่บ้าน
และผมแนะนำว่าวิธีที่สะดวกที่สุดสำหรับการเดินทางภายในประเทศไทย ก็ยังคงเป็นการเช็คอินออนไลน์ผ่านคอมพิวเตอร์ และปริ้น Boarding Pass มาจากที่บ้านเองครับ
เพราะอะไรหรือ? เพราะมัน "รุงรังชิบหาย" เลยครับ
ทุกสายการบินภายในประเทศตอนนี้ที่บินระหว่างกรุงเทพ และเชียงใหม่ รองรับการใช้ Mobile Boarding Pass แต่ลมปากเท่านั้น แต่เอาจริง ๆ เบื้องหลังการใช้ Mobile Boarding Pass มันเสียเวลามากกว่าการใช้ Boarding Pass กระดาษ ผมขออธิบายแยกเป็นทีละขั้นตอนก่อนขึ้นเครื่องบินเลยนะครับ
ขั้นแรก - ก่อนผ่านจุดสแกนกระเป๋า
ในเมืองไทยก่อนผ่านจุดสแกนกระเป๋า เราจะต้องผ่านจุดที่พนักงานการท่าตรวจว่าเราเป็นผู้โดยสารจริงหรือไม่ ณ จุดนี้สิ่งที่เราต้องโชว์ให้พนักงานการท่าดู คือ Boarding Pass และบัตรประชาชน ณ จุดนี้ปัญหาแรกก็มากแล้วครับ นั่นก็คือ Mobile Boarding Pass ของบางสายการบินนั้นไม่สมบูรณ์
Mobile Boarding Pass ที่ผมเจอปัญหาคือของ Bangkok Airways ครับ เวลาเรากดใช้ Mobile Boarding Pass เข้าไปในแอพ Passbook ของไอโฟน บนตัว Boarding Pass มีทุกอย่างคือบาร์โค้ด, ชื่อผู้โดยสาร หมายเลขเก้าอี้บนเครื่อง, เลขประตูขึ้นเครื่อง (ที่ไม่ยอมอัพเดตกรณีมีการเปลี่ยนประตู) แต่กลับไม่มีวันที่เดินทางครับ
เมื่อไม่มีวันที่เดินทาง พนักงานของการท่าก็ไม่สามารถทราบได้ว่าตั๋วที่เรามีในมือ มันเป็นตั๋วของวันนี้หรือเปล่า หรือว่ามันเป็นตั๋วที่เราเซฟเอาไว้ข้ามวันเพื่อแอบเข้ามาส่วนที่สงวนไว้ให้ผู้โดยสารเข้าได้เท่านั้น (สุดท้ายพนักงานก็ยอมปล่อยผ่าน)
![]() |
Mobile Boarding Pass ของบางกอกทางซ้าย ลืมใส่วันที่เข้าไป ผู้โดยสารเซ็ง เทียบกับอันขวาของนกแอร์ ที่มีข้อมูลครบกว่า |
จุดนี้ต่างประเทศเขาแก้ปัญหาอย่างไร? ที่สนามบินต่าง ๆ ในลอนดอน ก่อนจะเข้าไปจุดสแกนกระเป๋าจะต้องเจอด่านนี้ครับ เหมือนประตูรถไฟฟ้าบ้านเรา แต่ผู้โดยสารจะต้องยืนยันว่าจะบินจริงด้วยการสแกนบาร์โค้ดบน Boarding Pass หรือ Mobile Boarding Pass กับเครื่องนี้ก่อนด้วยตัวเอง
![]() |
ประตูกั้นไม่ให้คนไม่ได้บินจริงเข้าไปส่วนผู้โดยสารขาออกได้ที่สนามบิน Heathrow |
ขั้นสอง - ณ จุดสแกนกระเป๋า
อันนี้ไม่ใช่ปัญหา Thailand Only เหมือนปัญหาข้ออื่นครับ แต่มันเป็นปัญหาเรื่องของความรุงรังทั่วไปจากการใช้ Mobile Boarding Pass นั่นก็คือเราจะต้องเอามือถือไปใส่ในตะกร้าก่อนสแกน หรือไม่ก็เอาใส่ในกระเป๋าที่เราจะเอาผ่านเครื่องสแกน
ปรกติแล้วผมเป็นคนที่ชอบเตรียมตัวให้ได้ 100% ก่อนถึงเครื่องสแกน คือว่าง่าย ๆ ไม่ต้องเอาอะไรถอดเข้าถอดออกให้รุงรังและสับสน ถ้าเราใช้ Boarding Pass กระดาษ ผมสามารถเอากระเป๋ายัดเข้าเครื่องสแกนได้เลย แต่พอใช้ Mobile Boarding Pass ซึ่งต้องใช้ในการโชว์ให้พนักงานการท่าดูก่อนถึงจุดสแกน ทำให้เราต้องเอามือถือใส่กลับเข้ากระเป๋าอีกที
ข้อสาม - ณ ประตูขึ้นเครื่อง
อันนี้ล่ะครับเป็นปัญหาที่น่าเบื่อที่สุดของการใช้ Mobile Boarding Pass คือเมื่อถึงประตูขึ้นเครื่องแล้ว สำหรับสายการบินอื่น ๆ ที่ไม่ใช่การบินไทย พนักงานจะต้องใช้วิธีตรวจสอบ Boarding Pass เราด้วยวิธี Manual นั่นก็คือพนักงานที่หน้าประตู จะต้องหาเลข Sequence Number บน Mobile Boarding Pass เรา แล้วตะโกนไปให้พนักงานอีกคนที่ประจำอยู่หน้าคอม ให้ตรวจว่า Sequence Number เราตรงกับชื่อผู้โดยสารหรือไม่
บางครั้งบางสายการบิน (อย่างนกแอร์) ผมเห็นพนักงานได้พิมพ์รายชื่อผู้โดยสารที่ใช้ Mobile Boarding Pass แยกออกมาเลย เพื่อที่จะได้ตรวจง่าย ๆ ไม่ต้องคอยตะโกนเช็คกันให้เปลืองเวลา แต่เอาจริง ๆ แล้วมันก็ยังเป็นวิธีแก้ปัญหาแบบขี้ไม่สุด
กรณีของการบินไทย (ทุกสนามบิน) หรือ Bangkok Airways (เหมือนจะเฉพาะที่สุวรรณภูมิ) พนักงานสามารถใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ด สแกนมือถือเรากับเครื่องได้โดยตรง ทำให้ไม่ต้องมีการตะโกนข้ามกันเหมือนสายการบินอื่น แต่สิ่งที่น่ารำคาญมากของขั้นตอนนี้ คือพนักงานไม่ยอมให้เราเอามือถือสแกนกับเครื่องสแกนเอง แต่พนักงานจะหยิบเอามือถือเราไปจากมือ เพื่อดูชื่อว่าตรงกับบัตรประชาชนไหม ก่อนที่จะเอามือถือเราไปสแกน
นี่ล่ะครับปัญหา เพราะมีโอกาสสูงที่พนักงานจะทำมือถือหลุดมือแล้วหล่น หรือมือไปโดนจอโดยบังเอิญ ทำให้หน้าจอมือถือเราจากเดิมที่มันเป็น Mobile Boarding Pass เปิดไว้อยู่ กลายเป็นปิดแอพบ้าง เผลอปิดจอไปบ้าง บางครั้งก็เผลอเลื่อนไปเจอ Mobile Boarding Pass ไฟลท์อื่นที่เรามีอยู่แล้วสแกนไม่ผ่าน (คือโคตรจะรุงรัง)
สำหรับในหลาย ๆ ประเทศที่ผมเห็นมีการใช้ Mobile Boarding Pass แบบเต็ม 100% จริง ๆ เช่นสนามบิน Heathrow Terminal 2 หรือ 5 ของลอนดอน หรือในสหรัฐฯ มันเป็นหน้าที่ผู้โดยสารที่จะเอามือถือตัวเองสแกนกับเครื่องอ่านบาร์โค้ด ส่วนพนักงานจะคอยดูชื่อของเราบนเครื่องสแกน เพื่อเปรียบเทียบกับพาสปอร์ต หรือบัตรประชาชนของเราอีกที แบบนี้จะดีตรงที่มันไม่มีการเปลี่ยนมือของมือถือ ลดความรุงรังไปได้มากครับ
สรุป
ผมไม่รู้ว่ามันมีเหตุผลอะไรหรือเปล่า ที่การใช้ Mobile Boarding Pass ในประเทศไทยมันถึงต้องรุงรังเป็นพิเศษแบบนี้ (ใครทราบช่วยให้ความรู้ผมด้วยครับ) และถ้าจะให้สรุปว่าการขึ้นเครื่องบินอย่างรวดเร็วที่สุดหากเป็นเที่ยวบินในประเทศควรทำอย่างไร?
กรณีที่ไม่มีกระเป๋าต้องโหลด: จะให้เร็วที่สุดและเสียเวลาน้อยสุดคือการปริ้น Boarding Pass มาจากบ้าน แล้วพับหรือฉีกส่วนที่พนักงานต้องเก็บไว้ออกนิด ๆ เพื่อให้พนักงานดึงหรือฉีกออกได้ง่าย ๆ ที่ประตูขึ้นเครื่อง
สำหรับคนที่มีกระเป๋าต้องโหลด: วิธีที่เร็วที่สุดคือการทำออนไลน์เช็คอินมาก่อนจากบ้าน แต่เมื่อถึงสนามบิน ณ เค้าท์เตอร์ Bag Drop ให้ขอพนักงานพิมพ์ Boarding Pass ให้ครับ เพราะว่า Boarding Pass แบบปรกตินี่แหละ คือแบบที่พนักงานสามารถฉีกได้อย่างรวดเร็วที่สุดที่ประตูขึ้นเครื่อง
ประเด็นทั้งหมดนี้ ยังไม่รวมปัญหาแอพมือถือของแต่ละสายการบินที่ใช้การได้ไม่จริง (มีแต่นกแอร์ที่ผมขอให้ร้อยคะแนนเต็ม) ประเด็นนี้เอาไว้โอกาสหน้าครับ
ประเด็นทั้งหมดนี้ ยังไม่รวมปัญหาแอพมือถือของแต่ละสายการบินที่ใช้การได้ไม่จริง (มีแต่นกแอร์ที่ผมขอให้ร้อยคะแนนเต็ม) ประเด็นนี้เอาไว้โอกาสหน้าครับ
![]() |
สุดท้าย Boarding Pass กระดาษง้องแง้งแบบนี้พนักงานฉีกเร็วสุดครับ |
ออนไลน์เช็คอินบางทีก็ไม่เปิดเค้าน์เตอร์ให้ bag drop ฮะ เจอมาแล้วกับการบินไทย สรุป ต้องไปต่อแถวเหมือนเดิม
ReplyDeleteใช่ฮะ แล้วแต่ดวงจริงๆ เชียงใหม่กับสุวรรณภูมิมีนะ แต่ถ้าไม่มีผมแนะนำให้ลองเดินไปถามที่เค้าท์เตอร์ Business ก่อนเลยว่ามีไหม Bag Drop ถ้าไม่มี เขาอาจทำให้เลย ไม่ก็หน้าแตกกลับไปต่อคิวเช่นเดิม :p
ReplyDeleteวันนี้ผมใช้ airasia คล่องบรื๋อเลยฮะ
ReplyDelete