Monday, 6 August 2012

ระบบสมุดบัญชีธนาคารในประเทศไทย ทำไมกาก?

วันนี้ได้โอกาสบ่นเรื่องนี้บนทวิตเตอร์ไปพอสมควรแล้ว แต่ขอกลับมาเขียนใหม่บนบล็อกเพราะว่าผมเห็นมันเป็นปัญหาที่ควรจะได้รับการแก้ไขโดยเร็วที่สุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบัน ที่เราต่างก็ใช้บริการธนาคารกันมากกว่าเดิม ตั้งแต่จำนวนธุรกรรม (transactions) หรือจำนวนเงินที่เกี่ยวข้อง เพราะในอนาคต ไม่ต่างไปจากประเทศอื่น ๆ คนไทยคงจะจับจ่ายใช้สอยผ่านอินเทอร์เน็ตกันมากขึ้น และก็อาจจะใช้เงินสดน้อยลง หันไปใช้บริการในรูปแบบต่าง ๆ ของธนาคารมากขึ้น


เรื่องแรกที่บ่น: สมุดคู่ฝาก (passbook หรือ bank book) 

ผมไม่เข้าใจว่าทำไมธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยตอนนี้ยังต้องการให้ลูกค้าใช้สมุดบัญชีคู่ฝาก (passbook หรือที่คนไทยชอบเรียกกันติดปากว่า bank book) อยู่ ผมเข้าใจว่าการมีบัญชีคู่ฝากสมัยก่อนมันจำเป็น แต่ไม่ว่าด้วยเหตุผลอะไรก็ตามตอนนี้ความสำคัญของมันหมดไป เพราะมันทำให้การทำธุรกรรมมันยากขึ้น ผมเชื่อว่าเวลาเราออกจากบ้านไปทำอะไรซักอย่าง และกะจะแวะธนาคารด้วย คงไม่มีใครอยากจะต้องพก bank book เพิ่มอีกเล่มเพื่อใช้ในการยืนยันความเป็นเจ้าของบัญชี เพราะว่าเราคนไทยก็มีบัตรประชาชนที่ติดรูปอยู่แล้ว

Pass book หรือสมุด bank book ยุคโน้นนนนน มันเกิดมาพร้อม ๆ กับธนาคาร แต่ในไทยพัฒนาการของมันมีอยู่สามอย่าง คือ เราเปลี่ยนจะระบบเขียนเองมาเป็นระบบพิมพ์, เรามีแถบแม่เหล็กหรือบาร์โค้ดติดด้านหลัง และ (โปรดเลื่อนไปด้านล่างสุด)

ในประเทศอื่น ๆ หลาย ๆ ประเทศ ธนาคารต่างก็ได้มีการยกเลิก bank book กันไปหมดแล้ว เพราะมันมีวิธีอื่น ๆ มาทดแทน เช่น การส่ง statement กลับมาหาลูกค้าทุก ๆ สัปดาห์หรือทุกเดือนตามที่ลูกค้ากำหนด ลูกค้าคนไหนที่ทนรอไม่ได้ก็สามารถขอ bank ดูยอดเงินและ statement ได้ทุกเมื่อผ่านสื่อต่าง ๆ รวมไปถึงมือถือและออนไลน์ได้หมด

มันน่าตลกอย่างมาก ที่ธนาคารในไทย เวลาผมอยากจะขอ statement เพื่อไปยื่นเรื่องขอโน่นนี่ หรือไปยืนยันสถานะทางการเงิน ธนาคารกลับตอบผมมาว่าทำไม่ได้ เพราะว่าทุกอย่างต้องทำมาจากกรุงเทพ ผมต้องสั่งขอ statement แล้วรอ 10 วันเพื่อให้ statement นี้ส่งมาจาก กทม.​ อีกที มันน่าตกใจเหมือนกันที่สาขาธนาคารในประเทศไทยไม่มีการเก็บ statement ให้ลูกค้าเกิน 2 เดือน (อย่างน้อยก็ที่ธนาคารที่ผมใช้บริการ)

แล้วที่น่าตลกอีกเรื่อง คือธนาคารถามผมว่าทำไมผมถึงไม่เอา bank book ผมไปถ่ายเอกสารล่ะ มันก็เหมือนกับ statement ไม่ใช่หรือ ปัญหาของผมคือผมมีธุรกรรมผ่านบัญชีเยอะมาก ทำให้ผมเปลี่ยน bank book ทุก ๆ 1-2 เดือน ถ้าจะเอาย้อนไป 6 เดือน ถ่ายเอกสารเยอะแยะ มันทำให้คนตรวจสอบ statement รำคาญมากกว่า และอีกปัญหาหนึ่งที่ธนาคารมีก็คือหากเราไม่เอา bank book ไปปรับบ่อย ๆ แทนที่มันจะพิมพ์ธุรกรรมต่าง ๆ ของเราออกมา มันกลับรวมธุรกรรมที่เกิดขึ้นในช่วงที่เราไม่ได้เอาไปปรับแทน กลายเป็นว่ามันไม่บอกอะไรเราเลยนอกจากเงินเข้าออกโดยรวมช่วงเวลา x เดือนที่ผ่านมา (แล้วจะมีไปทำไม)


เรื่องที่สองที่อยากบ่น: โอนเงินเข้าออก บอกแต่จำนวน ไม่บอกว่าเงินมาจากใคร เพื่ออะไร

ในยุคที่เราต้องโอนเงินเข้าออกตลอดเวลาเพื่อทำธุรกรรมทางการเงินต่าง ๆ รวมไปถึงการซื้อของออนไลน์ มันเป็นเรื่องงี่เง่าที่สุดที่ผู้ขายของจะต้องบอกลูกค้าว่า ช่วยโอนเงินมีเศษสตางค์มาด้วย เช่น ซื้อของราคา 2,400 บาท ช่วยโอน 2,400.13 เพื่อที่ผู้ขายจะได้รู้ว่าลูกค้าชื่อนาย A ได้โอนเงินมาแล้ว เพราะผู้ขายขายสินค้าหลายชิ้นมูลค่า 2,400 หมดแล้วจะไม่รู้ว่าลูกค้าคนไหนเป็นคนโอนเงินเข้ามา

สมุดบัญชีธนาคารไทย เราจะรู้ได้ไงหว่าว่าเงินก้อนนี้ไปมาอย่างไรถ้าจำไม่ได้?

คือมันงี่เง่า ถ้ากรณีโอนเงินระหว่างบริษัทจะทำอย่างไร ในเมื่อทุกอย่างในบัญชีบริษัทต้องสามารถอธิบายได้ อีกทั้งมันเป็นเรื่องที่เราต้องเสียเวลาในการสื่อสารให้ชัดเจนกับผู้ขาย

ระบบธนาคารที่ต่างประเทศ​จะมีวิธีที่ต่างกัน แต่ส่วนใหญ่อย่างน้อยการโอนเงินเข้าออกในต่างประเทศ ตอนตรวจสอบ statement ลูกค้าของธนาคารจะเห็นช่อง Description หรือรายละเอียดของเงินที่เข้าออกนั้น ๆ เช่น เงินจำนวน 2,400 ดอลลาร์ ถูกโอนมาจากนาย A แต่บางประเทศเขาไปไกลกว่านั้น (เช่นออสเตรเลีย) ที่จะยินยอมให้ผู้โอนเงินนอกจากจะแนบชื่อตนเองติดไปกับเงินที่โอนแล้ว ยังสามารถที่จะส่งข้อความสั้น ๆ สามบรรทัดติดไปกับเงินนั้นด้วย และข้อความเหล่านี้จะปรากฏในบัญชีของผู้ที่เราโอนปลายทาง ทีนี้ถ้านาย A จะโอนเงินไปให้คนขายของ ก็แค่บอกว่า "เงินก้อนนี้สำหรับสินค้า x บิลเลขที่ xxxx" ก็ว่าไป ทีนี้มันแทบจะไม่มีพื้นที่ให้คนซื้อขายสับสนแล้วครับ

Bank statement ของธนาคารแห่งหนึ่งในประเทศออสเตรเลีย


การทำแบบนี้ นอกจากที่มันจะแก้ไขไม่ให้เกิดการสับสน มันยังเป็นการทำให้การหมุนของเงินสามารถตรวจสอบได้ โปร่งใส และสามารถบอกได้เลยว่าเงินไหนเป็นเงินสกปรกหรือไม่ และสามารถย้อนไปตรวจสอบได้ด้วย

หรือว่าการทำแบบนี้กระทบคนกลุ่มหนึ่งระดับประเทศของเรา ทำให้เราไม่มีระบบนี้ใช้เสียที หรือว่าเป็นปัญหาทางด้านเทคนิค ที่ระบบไม่สามารถรองรับภาษาไทยได้


เรื่องที่สุดท้ายที่อยากจะบ่น: โอนเงินข้ามจังหวัดทำไมมีค่าโอนอยู่อีก?

อันนี้ไม่รู้จะพูดอย่างไร คือยุคนี้ที่ทุกอย่างเป็นดิจิตอล ทำไมยังจะมีค่าโอนเล็กน้อยอยู่อีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการโอนเงินข้ามจังหวัด ผมอาจจะเข้าใจว่าการโอนเงินข้ามธนาคารมันอาจจะต้องมีค่าโอนอยู่บ้าง แต่การโอนเงินระหว่างสองสาขาของธนาคารเดียวกันทำไมมันยังจะมีค่าโอนอยู่

ขนาดโอนเงินออนไลน์ยังมีค่าโอนเลย

หรือว่าระบบธนาคารของเรา การโอนเงินทุกครั้งสาขาแต่ละสาขาจะต้องเอาเงินใส่รถขนเงินไปส่งให้อีกสาขาในต่างจังหวัดอยู่?

มีหลายเรตอีกต่างหาก


สรุป

อนาคตมันคงยุ่งยากกว่านี้แน่นอน แต่มันมีใครสนใจที่จะแก้ไขไหม ธนาคารแห่งประเทศไทยมีแผนอะไรที่จะทำการอัพเกรดระบบบัญชีของธนาคารพาณิชย์ของประเทศไทยหรือไม่? มีทางเรียกร้องไหม? คือตั้งแต่เกิดมาจนถึงตอนนี้ระบบธนาคารไทยมันไม่เปลี่ยนไปจากเดิมเลยได้อย่างไร

สิ่งที่เราเห็นเปลี่ยนไปอย่างเดียวเกี่ยวกับธนาคารไทยในปัจจุบันคือ:

ประเทศแรกของโลก กูปลื้มใจดีใจจนบอกไม่ถูก

11 comments:

  1. ผมก็สงสัยมาตั้งนานแล้ว.....พอถามก็ได้คำตอบกลับมาว่ามันเป็นระบบที่ทำกันมานานแล้ว(ธรรมเนียม)
    มันเป็นคำตอบของคนไทยไทยแท้.....เหนี่อย/////

    ReplyDelete
    Replies
    1. ขอบคุณครับ ผมก็มัวแต่คิดว่าซักวันต้องมีคนคิดแก้ไข แต่มันผ่านมา 7 ปีแล้วมันยังเหมือนเดิม สุดท้ายเลยต้องเขียนออกมาครับ

      Delete
  2. เขียนได้โดนใจมากครับ

    ReplyDelete
  3. พอได้อ่าน มันปรี้ดเลย ครับ มันอัดอั้นมานาน ขอบคุณที่เป็นปากเสียงครับ

    ReplyDelete
    Replies
    1. ขอบคุณที่เข้ามาอ่านจนจบเช่นกันครับ

      Delete
  4. เชื่อมั๊ยอีกไม่เกิน 5 ปีเมื่อภูมิภาคนี้เข้าสู่ประชาคมอาเชี่ยนอย่างเต็มตัว ไทยและระบบต่างๆที่เป็นของไทยที่ครั้งหนึ่งเคยเชื่อและยึดมั่นว่าเยี่ยมที่สุดในเอเชีย จะล้าหลังที่สุด รวมถึงระบบธนาคารทุกแห่งในประเทศไทย..เคยชื่นชมที่กสิกรไทยที่เป็นหัวหอกในการปรับเปลี่ยนตัวเองเมื่อหลายปีก่อน...แต่ก้อแค่นั้น....เตรียมตัวไว้เหอะชาวไทยและชาวเทศ ที่จะรับกับความไม่ได้เรื่องของระบบต่างๆในประเทศนี้ต่อไป

    ReplyDelete
  5. ชอบมากครับเขียนได้สะใจจริงๆครับ

    ReplyDelete
  6. มีข้อสงสัยแบบเดียวกันเป๊ะ!!!(เมื่อหลายปีก่อนนู้นนน) และผมเชื่อว่า "ยังคงมีอีกหลายคนที่ก้สงสัยเหมือนกัน" เรื่องนี้เคยทำอาทะเลาะกะแฟนไปนีสนุง - -'' แต่สุดท้ายนี่ "ฮา" มากครับ ห้า ห้า ห้า
    จะว่าไป ตอนนี้ก้เริ่มปวดหัวจิง ๆ นะครับ เพราะ บ/ช เดินบ่อย จนคนข้าง ๆ คำนวณไม่ถูกและไม่รุด้วยว่า บ/ช มาจากลูกค้าคนไหนบ้าง T_T

    ขอบคุณคับ

    ReplyDelete
  7. ผมเคยได้ยินมาว่า ระบบของธนาคารมีต้นทุนในการวางระบบสูงมาก ทำให้เขาไม่สามารถอัพเกรดได้ทันเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้แต่ปรับจูนแก้ปัญหาเท่าที่เทคโนโลยีของ 20-30 ปีที่แล้วมันจะทำได้ ยิ่งนานวันข้อมูลก็เยอะขึ้น ความซับซ้อนก็มากขึ้นเรื่อยๆเกินกว่าที่ระบบเก่าๆจะรองรับไหว แต่ผู้บริหารก็ไม่กล้าลงทุน กรรมก็ตกไปยังฝ่ายไอที คนเก่าก็ลาออก คนใหม่เข้ามาก็อยู่ไม่ได้ แรงกดดันเยอะจริงๆ

    ReplyDelete
  8. ใช่ เมืองนอกพกเเต่ บัตร จำระหัสให้ใด้ ใช้ระบบทนาคารออนไลน์ เท่านั้น เเต่ที่เมืองไทย ขอใช้บริการโอนเงินระหว่างประเทศ 3 เดือน 4 เดือน ยังไม่ใด้ ขาดนั้น ขาดนี้ บัตรประชาชนอย่างเดียว มันมีข้อมูลครอบทุกอย่างเเล้ว. ถามหน่อยใบ ทเบียนสมรสเอาไปทำไม. เปิดบัญชีชื่อเดียว.

    ReplyDelete
  9. เรื่องการแจ้งคนโอน ส่วนใหญ่ถ้ามาจาก bank เดียวกันจะตรวจสอบได้ ส่วนต่าง bank ส่วนจะบอกได้แค่ ว่ามาจากbank อะไร
    แต่เราเข้าใจว่าทำไมบางครั้งถึงบอกไม่ได้ เช่นถ้าเราจะไปโอนเงิน ซื้อของผ่านเนท เราก็คงไม่โอนที่แบงค์นั้น คือpay เข้าบัญชีผู้ขายเลย เต็มที่ก็เขียนแค่ ชื่อ กับ เบอร์ คงไม่มาเขียนชื่อนามสกุลหรอก

    ReplyDelete