Thursday, 27 December 2012

เราเสียโอกาสอะไรไปบ้าง จากการที่ตลาด "เบอร์โทรศัพท์" ของไทยไม่เสรีแท้จริง

ผมไม่ทราบมากเกี่ยวกับเบื้องหลังการจัดสรร "เบอร์โทรศัพท์"​ ของประเทศไทยเท่าไหร่นัก แต่จากการที่ได้คุยกับคนที่พอรู้เรื่องบ้างก็ทราบว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ไม่มี "ตลาดเสรีเบอร์โทรศัพท์" เหมือนกับประเทศอื่น ๆ ที่ผู้ให้บริการจะเป็นรายใหญ่หรือรายเล็กสามารถ "ซื้อ" จำนวนเบอร์โทรศัพท์ไปให้บริการใด ๆ ก็ได้ต่อ ซึ่งกรณีนี้สำหรับประเทศเรา อาจจะเกิดจากกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดเกินไป (เช่น ต่างชาติห้ามเข้ามาเล่นในตลาดนี้) หรือไม่ก็มีการกีดกันรายเล็กออกจากวงการ เราคนไทยจึงพลาดโอกาสที่จะได้ใช้บริการเกี่ยวกับเบอร์โทรที่ต่างประเทศเขามีกัน

Google Voice ที่ตอนนี้เปิดให้บริการเฉพาะในสหรัฐ

Wednesday, 26 December 2012

เพื่อน 8 คนบน Facebook Timeline ของเรา มีที่มาที่ไปอย่างไร?

เวลาเราเปิด Facebook ดูหน้า Profile ของตัวเองเราจะสังเกตได้ว่ามันจะมีกล่อง ๆ หนึ่งที่ชื่อว่า Friends โดยกล่องนี้มันจะแสดงเพื่อนบน Facebook ของเรา 8 คน ตอนแรกก็ไม่ได้คิดอะไรมาก แต่ตอนหลัง ๆ เริ่มรู้สึกว่าเพื่อน 8 คนที่เราเห็นนี้เป็นคนซ้ำ ๆ ทุกทีที่เรากลับเข้ามาดูที่หน้า Profile ของเราอีกครั้ง (หรือ Refresh) ผมก็เลยเกิดสงสัยขึ้นมาว่า Facebook ต้องมีวิธีในการเลือกเพื่อนของเรา 8 คนมาแสดงบนหน้านี้อย่างแน่นอน

กล่อง "Friends" บน Timeline แต่ทำไมเราเห็นคนหน้าเดิม ๆ ตลอด?


Thursday, 23 August 2012

มารยาทในการใช้ร้านกาแฟ มีอะไรบ้าง?


หลังจากที่เกิดดราม่าเรื่องร้านกาแฟยอดนิยมในไทยอย่าง Starbucks ได้ตัดสินใจที่จะทำออกกฎไม่ให้ลูกค้าบางกลุ่มที่จะมาใช้สถานที่ที่จำกัดของร้านมาติวหนังสือ หรือเข้ามาใช้บริการเป็นกลุ่ม ๆ แต่กลับสั่งกาแฟแก้วเดียวแล้ว (freeload) ทำให้ผมนึกได้ถึงบทความก่อนหน้านี้ที่ออกมานานพอสมควรแล้วบน Mashable ที่พูดถึงมารยาทในการใช้บริการคาเฟ่ขึ้น ผมเลยขอเอาบทความนี้มาสรุปให้สั้นลงนิดมาให้อ่านอีกที เพราะเห็นว่ามันน่าสนใจเหมือนกันครับ แต่ต้องขอบอกตรงนี้เลยว่าปัญหานั่งแช่ หรือเอาพื้นที่ของร้านมาใช้ประโยชน์อย่างอื่น มันไม่ใช่เรื่องที่เกิดเฉพาะเมืองไทยหรอกครับ

แต่บังเอิญที่เมืองไทยมันเป็นปัญหาระดับชาติเท่านั้น

สตาร์บักส์สิงคโปร์ ไม่มีคน แต่วางของจองที่ไว้เพียบ กากสัสหมาจริงๆ

Thursday, 16 August 2012

แท็กซี่ปฏิเสธลูกค้า เพราะค่าแท็กซี่เราถูกไปหรือเปล่า?

ตอนนี้คนกรุงเทพและคนไทยคนอื่น ๆ ที่ต้องใช้บริการแท็กซี่ใน กทม. เป็นครั้ง ๆ คราว ๆ อาจจะชินชาไปเสียแล้วกับพฤติกรรมของคนขับรถแท็กซี่ใน กทม ส่วนหนึ่ง แต่ต้องขอย้ำว่าส่วนหนึ่งเพราะแท็กซี่ดี ๆ ก็หาได้ และดีมากอย่างสุดซึ้งก็พบเห็นได้เป็นประจำเหมือนกัน สำหรับผมแล้วในฐานะที่เคยอาศัยอยู่ในเมืองอื่น ๆ มาบ้างแล้ว และได้เรียนเศรษฐศาสตร์เบสิก ๆ มา เลยอยากจะขอเสนอมุมมองของผมเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าวครับ


ทำไมแท็กซี่ถึงปฏิเสธผู้โดยสารเป็นประจำ

เรื่องนี้ตามหลักเศรษฐศาสตร์สามารถอธิบายได้ง่ายมากครับ สินค้าและบริการทุกอย่างจะมีตลาดของมัน และในตลาดจะต้องมีผู้ซื้อและผู้ขาย เมื่อผู้ซื้อและผู้ขายเห็นราคาที่ต่างฝ่ายต่างยินดีและพร้อมที่จะจ่าย ณ ราคาที่ตกลงได้ เมื่อนั้นการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการย่อมเกิดขึ้น

แท็กซี่ฮายโซว

Monday, 6 August 2012

ระบบสมุดบัญชีธนาคารในประเทศไทย ทำไมกาก?

วันนี้ได้โอกาสบ่นเรื่องนี้บนทวิตเตอร์ไปพอสมควรแล้ว แต่ขอกลับมาเขียนใหม่บนบล็อกเพราะว่าผมเห็นมันเป็นปัญหาที่ควรจะได้รับการแก้ไขโดยเร็วที่สุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบัน ที่เราต่างก็ใช้บริการธนาคารกันมากกว่าเดิม ตั้งแต่จำนวนธุรกรรม (transactions) หรือจำนวนเงินที่เกี่ยวข้อง เพราะในอนาคต ไม่ต่างไปจากประเทศอื่น ๆ คนไทยคงจะจับจ่ายใช้สอยผ่านอินเทอร์เน็ตกันมากขึ้น และก็อาจจะใช้เงินสดน้อยลง หันไปใช้บริการในรูปแบบต่าง ๆ ของธนาคารมากขึ้น


เรื่องแรกที่บ่น: สมุดคู่ฝาก (passbook หรือ bank book) 

ผมไม่เข้าใจว่าทำไมธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยตอนนี้ยังต้องการให้ลูกค้าใช้สมุดบัญชีคู่ฝาก (passbook หรือที่คนไทยชอบเรียกกันติดปากว่า bank book) อยู่ ผมเข้าใจว่าการมีบัญชีคู่ฝากสมัยก่อนมันจำเป็น แต่ไม่ว่าด้วยเหตุผลอะไรก็ตามตอนนี้ความสำคัญของมันหมดไป เพราะมันทำให้การทำธุรกรรมมันยากขึ้น ผมเชื่อว่าเวลาเราออกจากบ้านไปทำอะไรซักอย่าง และกะจะแวะธนาคารด้วย คงไม่มีใครอยากจะต้องพก bank book เพิ่มอีกเล่มเพื่อใช้ในการยืนยันความเป็นเจ้าของบัญชี เพราะว่าเราคนไทยก็มีบัตรประชาชนที่ติดรูปอยู่แล้ว

Pass book หรือสมุด bank book ยุคโน้นนนนน มันเกิดมาพร้อม ๆ กับธนาคาร แต่ในไทยพัฒนาการของมันมีอยู่สามอย่าง คือ เราเปลี่ยนจะระบบเขียนเองมาเป็นระบบพิมพ์, เรามีแถบแม่เหล็กหรือบาร์โค้ดติดด้านหลัง และ (โปรดเลื่อนไปด้านล่างสุด)

Wednesday, 13 June 2012

อยากขับรถในเชียงใหม่ได้ต้องกาก

กะจะเขียนเรื่องเกี่ยวกับการขับรถในเชียงใหม่มานานละ เพราะทุกครั้งที่เพิ่งขับรถเสร็จจะต้องยัวะทุกที แต่หลังจากยัวะทีไรก็จะโมโหเกินที่จะมานั่งเขียนอะไรแบบนี้ พอหายโกรธแล้วก็จะลืม ... ตอนนี้มีงานอื่นต้องทำแต่ยังไม่อยากทำ เลยขอมาอู้งานด้วยการเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ก่อนละกัน

คือจะขับรถในเชียงใหม่นี่มันโคตรลำบากเลยครับ ตลอดเวลาที่ผมอยู่เชียงใหม่และขับรถเป็นมา 7 ปีเนี่ย ผมรู้สึกได้เลยว่ามันขับรถยากขึ้นเรื่อย ๆ ทุกวันจริง ๆ ครับ ตอนผมเพิ่งเริ่มเรียนขับรถใหม่ ๆ คนเชียงใหม่ยังไม่ขับรถห่วยแตกเท่าทุกวันนี้ โดยเฉพาะหลัง ๆ สองปีที่ผ่านมานี้มันรู้สึกได้มากขึ้นเรื่อย ๆ ทุกวันจริง ๆ ว่าระดับความสามารถ และนิสัยของผู้ขับขี่ในเชียงใหม่แย่ขึ้นทุกวันอย่างเห็นได้ชัด

เมืองหมีแพนด้าเขาขับรถกากกันจริงอะไรจริง

ไม่รู้มันเกิดขึ้นเพราะว่าคนขับถูกต้องทนความกากไม่ไหว เลยขอกากกับเขาบ้างหรือไม่ แต่ก็เป็นไปได้ เพราะผมก็รู้สึกว่าการขับถูกต้องและมีน้ำใจ มันกลับทำให้เราโดนเอาเปรียบไปโดยปริยาย เพราะฉะนั้นทำไมเราจะกากบ้างไม่ได้?

Friday, 1 June 2012

สรุปการพูดและสัมภาษณ์ของนางอองซานซูจี: การว่างงานคือระเบิดเวลา, เห็น กทม แล้วพม่าต้องการนโยบายทางด้านพลังงาน


เมื่อกี้นี้ผมได้นั่งฟังวีดีโอที่นางอองซานซูจี ได้ออกมาพูดที่งาน World Economic Forum ที่จัดขึ้นในประเทศได้แล้ว ผมขอจะสรุปสิ่งที่น่าสนใจให้ฟังแบบสั้น ๆ สำหรับคนที่ไม่มีเวลา ไม่อยากฟังยาว หรือคนที่แค่บังเอิญอ่านมาเจอบล็อกของผม (ฮา)


- ถ้าใครจะมาลงทุนในประเทศพม่า อยากจะให้ช่วยเรื่องการสร้างอาชีพให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะว่าตอนนี้สิ่งที่พม่าต้องการที่สุดคือการจ้างงาน ไม่ต้องเป็นงานที่ซับซ้อนหรืออะไรมากมาย เพราะตอนนี้แรงงานพม่าที่มีอายุน้อยก็ไม่มีงานทำเสียแล้ว (youth unemployment rate สูงมาก)

Sunday, 20 May 2012

ภาพโครงการ Soi Central ที่ Central World

[อัพเดต] ปัจจุบันโครงการดังกล่าวก่อสร้างเสร็จสิ้นแล้ว และได้ใช้ชื่อว่า Groove @ Central World

Synthesis Design and Architecture หรือ SDA ดีไซน์สตูดิโอจากแคลิฟอร์เนียได้โพสภาพโครงการใหม่ของเครือเซ็นทรัลบน Facebook Wall ของเขา โดยโครงการนี้มีชื่อว่า "ซอยเซ็นทรัล" (Soi Central) 



จากภาพผมพอจะเดาได้ว่าโครงการนี้จะอยู่ตรงลานด้านหน้าของอาคาร Offices @ Central World ข้าง ๆ ทางเชื่อมจาก Skywalk เข้าสู่ตัวห้าง Central World โดยดูจากภาพก็ขอเดาอีกว่าโครงการดังกล่าวน่าจะสร้างเป็นแนวที่ให้พนักงานออฟฟิศลงมาหาอะไรดื่มหลังจากทำงานเสร็จ อาจจะเป็นผับหรือบาร์ ซึ่งนี่ไม่ใช่เร่ืองแปลกอะไรเพราะอาคาร mixed use แบบนี้ในต่างประเทศเช่น Roppongi Hills ในโตเกียวหรือ IFC ที่ฮ่องกงก็จะมีบริเวณแบบนี้เช่นกัน แต่ก็ไม่แน่ เพราะข้าง ๆ เป็นวัด อาจจะมีกระแสต่อต้านถ้าทำจริง

Thursday, 17 May 2012

5 บทเรียนธุรกิจสำคัญจากสตีฟ จ็อบส์ จากหนังสือ Insanely Simple: The Obsession That Drives Apple’s Success

เมื่อสัปดาห์ที่แล้วผมได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับสตีฟ จ็อบส์อีกเรื่อง Insanely Simple: The Obsession That Drives Apple's Success โดย Ken Segall จบแล้ว โดยหนังสือเรื่องนี้จะไม่เน้นบอกเรื่องราวของสตีฟ จ็อบส์มากมายเหมือนกับชีวประวัติของสตีฟ จ็อบส์อีกเล่ม แต่จะเน้นเรื่อง Simplicity หรือความเรียบง่าย ซึ่งสตีฟ จ็อบส์ได้นำมาใช้ในการดำรงชีวิตและการบริหารธุรกิจที่แอปเปิล และกลายเป็นสิ่งที่ทำให้แอปเปิลประสบความสำเร็จทุกวันนี้ หนังสือเล่มนี้จะให้ความสำคัญเรื่องในเรื่องธุรกิจเป็นส่วนใหญ่


อ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว เราจะรู้เลยว่ารูปแบบการบริหารของบริษัทใหญ่ยักษ์หลายแห่ง ไม่ใช่ว่าไม่มีศักยภาพ แต่กลับมีอะไรซักอย่างมาปิดกั้นไม่ให้บริษัทเหล่านั้นสามารถปลดล็อคศักยภาพที่ตัวเองมีอยู่ได้ โดยทั้งหมดนี้อยู่ที่สไตล์ในการบริหารจัดการ และโครงสร้างของบริษัท ซึ่งแอปเปิลมีวิธีการดำเนินการไม่เหมือนใคร จนถึงวันที่สตีฟ จ็อบส์ตาย แอปเปิลยังคงบริหารบริษัทไม่ต่างกับบริษัทเล็ก ๆ ที่ใช้แนวการบริหารลักษณะกึ่งเผด็จการเล็กน้อย คือว่าง่าย ๆ ทุกอย่างต้องผ่านการตัดสินใจจากบุคคลที่มีอำนาจ เช่น สตีฟ จ็อบส์, ทิม คุก, สก็อต ฟอร์สตอลหรือจอนนี่ ไอฟว์ แต่บุคคลเหล่านี้ กลับมีส่วนร่วมใน thought process เกือบทุกขั้นตอนเช่นกัน

เมื่ออ่านหนังสือเล่มนี้จบ มันมีเรื่องที่ไม่เหมือนใครเกี่ยวกับแอปเปิลและสตีฟ จ็อบส์อยู่ 5 อย่างที่ผมเห็นด้วย และคิดว่ามันคงจะเป็นประโยชน์กับบริษัทที่เราอยู่ หรือแม้กระทั่งสังคมของเรา ผมขอเรียกสั้น ๆ ว่าสิ่งเหล่านี้เป็น "บทเรียน" จากหนังสือเล่มนี้ละกันครับ

Wednesday, 16 May 2012

Pocket Wi-Fi เที่ยวญี่ปุ่นพกอินเทอร์เน็ตไปได้ทุกที่


เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาครอบครัวผมได้ไปเที่ยวญี่ปุ่นมาครับ โดยก่อนไปเที่ยวสิ่งที่ผมกลัวที่สุดคือการขาดอินเทอร์เน็ต เพราะว่าประเทศญี่ปุ่นอย่างที่รู้กันเป็นประเทศที่ใช้เทคโนโลยีมือถือไม่เหมือนชาวบ้านเขาซักเท่าไหร่ และเท่าที่ทราบมาเป็นประเทศที่โรงแรมหลาย ๆ แห่งไม่ได้มีบริการอินเทอร์เน็ตให้ฟรี แถมไม่พอร้านกาแฟต่าง ๆ ก็ไม่ได้มีบริการ Free Wi-Fi อีกด้วย ยิ่งเมื่อเช็คค่าบริการแต่ละที่ ก็บอกได้เลยว่ามันราคาไม่ย่อมเยาว์กันเลย

สุดท้ายก็ก็ได้ตัดสินใจที่จะใช้บริการเช่าอุปกรณ์ Pocket Wi-Fi หรืออุปกรณ์เล็ก ๆ ที่รับคลื่นมือถือออกมาปล่อยเป็น Wi-Fi ต่อให้อุปกรณ์ของเราอื่น ๆ อีก 5 เครื่องสามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้แทนจากเว็บ Global Advanced Comm ซึ่งเพื่อนผมที่เป็นชาวญี่ปุ่นที่ย้ายไปอยู่ออสเตรเลียแล้วแนะนำมา เมื่อเช็คราคาดูก็ไม่แย่เลยครับ และเมื่อเทียบกับความสะดวกสบายแล้วมันคุ้มค่าแน่นอน ถ้ามาดูค่าเน็ตที่โรงแรมคิดแล้วจะเห็นเลยว่าเช่ามือถือนี้เป็นอะไรที่ no-brainer มาก ๆ อ้อ คราวนี้ผมไปเที่ยวกับครอบครัวครับ ซึ่งพ่อผมก็ต้องใช้ Skype ตลอดเพื่อทำงาน ส่วนแม่ก็เป็นคนคอยวางแผนการเที่ยวตลอดเวลา ยิ่งทำให้การตัดสินใจเช่า Pocket Wi-Fi กลายเป็นเรื่องง่ายไปเลย



Monday, 14 May 2012

H&M จะเปิดสาขาแรกในไทยที่สยามพารากอน ตุลาคมนี้

เห็นคนไทยหลาย ๆ คนก่อนหน้านี้ตื่นเต้นกับการเปิดสาขาของแบรนด์เสื้อผ้าราคาถูกจากญี่ปุ่น Uniqlo แล้ว ก็พอจะเดาได้ว่าตลาดเสื้อผ้าวัยรุ่นที่มีราคาไม่สูงมากนักในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คงจะใหญ่พอที่จะเข้าเจ้าของแบรนด์กลุ่มนี้ ไม่น่าแปลกเลยที่ในระยะเวลาไม่ห่างกันมากนัก H&M แบรนด์เสื้อผ้าวัยรุ่นราคาไม่แพงจากประเทศสวีเดนก็สนใจที่จะเปิดสาขาในแถบภูมิภาคนี้แล้วเหมือนกัน


ประเทศไทยไม่ได้เป็นประเทศเดียวที่ H&M จะมาเปิดสาขา แต่ประเทศอาเซียนอื่น ๆ อย่างมาเลเซียและอินโดนิเซียก็จะมีร้าน H&M ไปพร้อม ๆ กับเราด้วยเช่นกัน โดยทาง H&M เองได้แต่งตั้งตัวแทนรายเดียว (J.S. Gills) ให้ดูแลการบริหารจัดการสาขาและทำการตลาดทั่วทั้งภูมิภาคของเรายกเว้นสิงคโปร์กับฮ่องกง

H&M เป็นแบรนด์ที่รู้จักกันดีในหมู่เสื้อผ้าวัยรุ่น ถึงแม้ว่าจะมีการตั้งราคาใกล้เคียงกับ Uniqlo และสินค้าของตัวเองก็ไม่เน้นการติดหรือพิมพ์ยี่ห้อของตัวเองออกมาโชว์ (ซึ่งจุดนี้ผมเห็นว่ามันสำคัญมาก ๆ) แต่เสื้อผ้าของ H&M จะเน้นแฟชั่นทันสมัยมากกว่าความเรียบง่ายของ Uniqlo เหมาะสำหรับคนที่ต้องการแต่งตัวที่ชอบเอาของหลาย ๆ ยี่ห้อมาใส่ประกอบกับ (คนไทยชอบเรียก mix and match) และอีกสิ่งที่ H&M​ ดังอย่างมากคือพวก accessories ราคาถูกอย่างสร้อยคอ รองเท้า กับหมวก ว่าง่าย ๆ H&M ก็คือ TOPSHOP ราคาถูกกว่าหน่อยนั่นเอง

H&M สาขาแรกของเมืองไทยจะเปิดสาขาแรก ซึ่งเป็นช็อปที่มีขนาดใหญ่สองชั้น ที่สยามพารากอน ในเดือนตุลาคม 2012 ที่จะถึงนี้ โดย H&M จะเปิดตรงข้าม ZARA 

ส่วนตัวแล้วผมเห็นว่าสำหรับเมืองไทย หรือภูมิภาคของเรา เรามีตลาดเสื้อผ้าที่แตกต่างจากประเทศตะวันตกอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องของตัวเลือก สไตล์ และระดับราคา ซึ่งถ้าจะให้เปรียบเทียบแล้วผมเชื่อว่าเรามี spectrum ที่กว้างกว่ามาก ถึงแม้เราอาจจะหาแบรนด์ที่แพงสุด ๆ ยากกว่าหน่อยก็ตาม แต่ตัวเลือกของเราเยอะกว่า ซึ่งเรื่องนี้ต้องขอบคุณมาตรการควบคุมดูแลทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศที่แย่ (ซึ่งในระยะสั้นไม่ใช่เรื่องแย่ แต่ระยะยาวไม่อย่างแน่นอน) การมาของ H&M ก็จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง สำหรับคนที่ต้องการซื้อสินค้าที่่มีคุณภาพพอใช้ได้ สไตล์ที่ทันสมัยแบบสากล ในราคาที่พอเรียกได้ว่า "สมราคา" เช่นเดียวกับการมาเปิดร้านในเมืองไทยก่อนหน้านี้ของ Uniqlo, ZARA และ Forever 21

ของแถม: ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ H&M ในแถบเอเชีย

- จีนแผ่นดินใหญ่และฮ่องกง สาขาแรกเปิดปี 2007 ตอนนี้มี 89 สาขา
- อินโดนิเซีย สาขาแรกจะเปิดต้นปี 2013 ในกรุงจาการ์ตา เมืองที่มีประชากรมากที่สุดในเอเชีย บริหารโดยแฟรนไชส์ J.S. Gills
- ญี่ปุ่น สาขาแรกเปิดปี 2008 ตอนนี้มี 15 สาขา
- มาเลเซีย สาขาแรกจะเปิดภายในปี 2012 ที่กรุง KL
- สิงคโปร์ สาขาแรกและสาขาเดียวเปิดปลายปี 2011 โดย H&M บริหารเอง
- เกาหลีใต้ สาขาแรกเปิดปี 2010 ตอนนี้มีทั้งหมด 7 สาขา โดย H&M บริหารเอง

Sunday, 13 May 2012

TOT: เสือพิการนอนกินจนชิน ตายแล้วไม่รู้ตัว


  • มีบริษัทไหนในโลกที่แผนธุรกิจผิดพลาด ถึงขั้นที่ว่าลูกค้าน้อยกว่าคาด 10 เท่า รายได้น้อยกว่าคาด 14 เท่า แต่กลับไม่มีผู้ใดต้องรับผิดชอบ ไม่มีแม้แต่พนักงานคนเดียวหรือแม้กระทั่งฝ่ายการตลาดที่ได้รับการลงโทษ หรือถูกไล่ออก?
  • มีบริษัทไหนในโลกที่อยู่ในธุรกิจโทรคมนาคมแต่พนักงานขายและบริการขอตัวปิดร้านเพื่อไปทานข้าวเที่ยงตั้งแต่ 11 โมงเช้ายันบ่ายโมงตรง?
  • มีบริษัทไหนในโลกที่ทำธุรกิจโทรคมนาคมแล้วไม่การประกาศแปลน เพ็กเกจให้บริการ หรือโปรโมชั่นให้กับลูกค้าทราบโดยท่ัวกันผ่านทางเว็บ?
ถ้าคุณตอบว่า TOT น่ันคือคำตอบที่ถูกต้อง

เคสของ TOT เป็นกรณีตัวอย่างที่สนับสนุนเหตุผลว่าทำไมประเทศทุกประเทศ จะต้องทำการเปลี่ยนรัฐวิสาหกิจ (state enterprise) ให้กลายเป็นบริษัทแสวงหาผลกำไรอย่างเต็มรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นวิธีการประมูลขายกิจการ หรือจับรัฐวิสาหกิจเหล่านี้หั่นออกเป็นบริษัทเล็กย่อยลง แล้วปล่อยให้แข่งขันกันเองอีกที

หลายคนอาจจะไม่เข้าใจว่า ถ้ารัฐวิสาหกิจอย่าง TOT, CAT Telecom และการบินไทยกลายเป็นตัวสร้างปัญหาและเป็นภาระทางภาษีให้กับคนในประเทศชาติมากมายอย่างนี้ ทำไมเราถึงต้องตั้งรัฐวิสาหกิจเหล่านี้ขึ้นมาในตอนแรก
คำตอบจริง ๆ แล้วก็คือเมื่อก่อนมันเป็นความจำเป็นครับ

เพราะว่าธุรกิจเหล่านี้อาจจะเรียกได้ว่าเป็นธุรกิจประเภท public service หรือว่าง่าย ๆ เป็นบริการสาธารณะ ซึ่งหากรัฐไม่ทำการลงทุนและริเริ่มก่อน จะไม่มีเอกชนรายใดสนใจที่จะริเริ่มให้บริการดังกล่าว เนื่องจากความไม่แน่นอนในเรื่องกำไร รวมไปถึงความไม่แน่นอนในเรื่องศักยภาพความสามารถของตัวเอง และเทคโนโลยีหรือวิธีการในการทำธุรกิจนั้น ๆ

แต่ในตอนนี้ เราสามารถสังเกตได้เลยว่าธุรกิจของรัฐทั้งหลาย มีเอกชนสนใจเข้ามาเป็นผู้เล่นในฉากแล้ว ตั้งแต่ธุรกิจไปรษณีย์ จนไปถึงการบิน เราจึงไม่จำเป็นอีกต่อไปที่จะต้องมีสายการบินประจำชาติ แล้วใช้ภาษีของคนทั้งประเทศมาอุ้มไม่ว่าประชาชนผู้เสียภาษีเหล่านี้จะไม่เคยได้ใช้บริการของการบินไทยเลยก็ตาม

ตอนนี้คำถามที่น่าสนใจจึงอยู่ที่ว่าเราควรจะรับภาระทางการเงินให้กับบริษัทที่ด้วนทั้งแขน ขา และสมองอย่าง TOT อยู่หรือไม่ และอะไรทำให้บริษัทนี้ยังคงสถานะเป็น "รัฐวิสาหกิจ" อยู่ และทำไมพนักงานรัฐวิสาหกิจไม่อาจจะถูกลงโทษจากความผิดพลาดของตัวเองได้

ในโลกธุรกิจจริง บริษัทนี้อาจจะเสียพนักงานไป 80% แล้วก็ได้ หากประเมินตาม performance และ output ที่เราเห็น

ทุกวันนี้ที่ TOT เป็นอยู่ เราอาจจะต้องใช้คำบรรยายของภาพนี้อธิบายแทนจะสะดวกกว่า


Thursday, 2 February 2012

HDTV ในเมืองไทย





ถ้าพูดถึงเรื่อง HDTV หรือทีวีภาพชัดเจนสูงหรือจะเรียกอย่างไรก็ตามแต่ ในเมืองไทยตอนนี้ทางเลือกเราไม่ค่อยมีมากนัก เพราะว่าทีวีที่ออกอากาศ Free-to-air ที่ทุกคนสามารถเลือกรับได้อย่างอิสระและไม่ต้องเสียเงินแต่ละช่อง ไม่มีช่องใดเลยที่ออกอากาศแบบดิจิตอล และ HD ทางเลือกของเราตอนนี้มีไม่กี่ทางเท่านั้นคือ 
  1. ติด True Visions ซึ่งถ้ารับชมผ่านดาวเทียม ก็รับช่อง HD ได้แค่สามช่อง แบบเคเบิลก็ยังครอบคลุมไม่ทั่ว 
  2. สมัครบริการ HDTV ของผู้ให้บริการ IPTV ซึ่งนี่ก็มีปัญหาเรื่องคุณภาพของรายการที่ต่ำมากและส่วนใหญ่หาสาระยาก
  3. หาซื้อหนัง Blu-ray มาหรือไม่ก็ดาวน์โหลดจากเน็ตมาแทน
ทั้งหมดนี้ต่างก็เป็นทางเลือกที่ไม่ใช่ทุกคนสามารถเลือกได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าะเป็นปัญหาทางด้านความสะดวก ทักษะ หรือแม้กระท่ังการเงิน วิธีที่จะให้ผู้รับชม HD มีมากที่สุดคงจะหนีไม่พ้นการมีช่อง Free-to-air เป็นช่อง HD

เมื่อก่อนที่ยุโรปจะมีการใช้ HD อย่างแพร่หลาย เขาพูดกันว่า "ถ้าไม่มีช่อง HD​ ก็จะไม่มีคนซื้อทีวี HD มาชม เมื่อไม่มีใครซื้อทีวี HD มาชม ก็จะไม่มีช่อง HD" เราต้องเข้าใจว่า การเปลี่ยนจากเทคโนโลยีทีวีสีธรรมดาเหมือนที่บ้านเราใช้กันอยู่นี้ ไปเป็นระบบ HD มันเป็นเรื่องที่ไม่ง่าย และมีค่าใช้จ่ายสูงมาก เพราะทุกอย่างต้องเปลี่ยนหมดตั้งแต่การถ่ายทำรายการ การตัดต่อที่ใช้เวลาและทรัพยากรต่าง ๆ มากขึ้น ไปจนถึงเครือข่ายและระบบการส่งสัญญาณที่ยากขึ้น เลยไม่มีช่องไหนอยากจะทำ แต่สุดท้ายก็มีไม่กี่ช่องในยุโรป ที่ยอมลงทุนถ่ายทอดระบบ HD ในที่สุด

ในเมืองไทยตอนนี้ ผมเห็นว่าเราได้เปรียบกลุ่มประเทศที่เป็นผู้นำในการเปลี่ยนถ่ายเทคโนโลยีมาก คือการที่เราได้เห็นข้อดีข้อเสีย ได้เห็นว่าอะไรมันจะเวิร์คอะไรมันไม่เวิร์ค และเราได้ประโยชน์จากการเป็นผู้ตาม เพราะเราไม่ต้องลงทุนคิดค้นอะไรขึ้นมาใหม่ แต่เราสามารถที่จะเรียนรู้วิธีที่ดีที่สุดมาใช้ได้ รวมไปถึงการที่เราไม่ต้องซื้ออุปกรณ์ส่งสัญญาณที่ ณ เวลานั้นหาผู้ผลิตยากมาก ทำให้ราคาขายของอุปกรณ์เหล่านี้แพงมาก แต่ตอนนี้มันกลายเป็นอุปกรณ์ทั่วไปที่มีราคาถูก

ผมเห็นทีวี HD วางขายกันแทบจะทั่วไปแล้ว เราเริ่มเห็นจอ HD ใหญ่ ๆ ตามร้านก๋วยเตี๋ยวเป็นเรื่องไม่น่าตกใจอีกต่อไปแล้ว เรียกง่าย ๆ ว่าเกือบทุกคนเข้าถึงมันหมดแล้ว แต่ปัญหาของเราตอนนี้อยู่ที่ว่าไม่ค่อยมีใครได้ลิ้มรสและเห็นการถ่ายทอดภาพในรูปแบบ HD อย่างจริงจัง เราเลยยังไม่มีความอยาก ไม่สนใจ และไม่เห็นความจำเป็นของมัน ถ้าจะให้ผมยกตัวอย่าง การเปลี่ยนจากการถ่ายทอดแบบธรรมดา มาเป็น HD มันเหมือนกับการเปลี่ยนจากการถ่ายทอดขาวดำ มาเป็นทีวีสีเลยทีเดียว

หากมีทีวีช่องไหนช่องหนึ่งในเมืองไทย เริ่มถ่ายทอดสัญญาณ HD มาแล้ว คนไทยอาจจะติดใจอย่างแรง ซึ่งนี่ก็ไม่ใช่เรื่องน่าตกใจเพราะในทุกประเทศที่เริ่มถ่ายทอด HD ก็เป็นแบบนี้กันหมด เช่นกันกับคนไทยที่ดาวน์โหลดหนัง HD เป็นที่ไม่ยอมโหลดหนังไม่ HD อีกเลย เมื่อคนติดใจแล้ว ช่องอื่น ๆ ก็คงหนีไม่พ้นที่จะต้องทำตาม นี่จะเป็นการกระตุ้นทำให้ทุกคนรีบไปซื้อทีวีที่รับภาพ HD ได้
แต่มันไม่ใช่แค่นั้น มันจะเป็นการกระตุ้นวงการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดด้วย ตั้งแต่วงการถ่ายทำละคร ดนตรี ภาพยนตร์ในไทย ที่จะต้องเริ่มเพิ่มคุณภาพเพื่อรองรับความต้องการใหม่ของผู้รับชม จะเป็นการกระตุ้นอุตสาหกรรมทีวี ที่ต้องลดราคามาแข่งกันเพื่อจับตลาดระดับล่างที่เริ่มอยากได้ทีวี HD อีกทั้งยังจะเป็นการกระตุ้นวงการสื่อสารอย่างมือถือและอินเทอร์เน็ต ที่ต้องปรับตัวให้ตรงกับความต้องการของคนที่อยากรับชมทีวีภาพ HD บนคอมฯ หรือบนมือถืออีกด้วย

ผมจึงอยากให้ กสทช.​ องค์กรที่จะรับผิดชอบเรื่องการให้ใบอนุญาติในการประกอบการสื่อสารมวลชน อยากให้ กสทช.​ ตั้งข้อกำหนดให้กับผู้ที่จะประมูลคลื่นสัญญาณโทรทัศน์ไปว่านอกจากการเปลี่ยนมาถ่ายทอดระบบดิจิตอลแล้ว ผู้ที่ถือคลื่นจะต้องถ่ายทอดสัญญาณ HD ด้วยให้คลอบคลุมประชากร X เปอร์เซ็นท์ของประเทศภายในระยะเวลาที่เหมาะสม

ผมเห็นว่าทีวี HD มันไม่ใช่เรื่องฟุ่มเฟือยอีกต่อไปแล้ว เพราะทุกคนมีเครื่องรับกันมากมายแล้ว แต่ตอนนี้เครื่องรับเหล่านี้เหมือนจะถูกใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ทำให้มันกลายเป็นของฟุ่มเฟือยต่อไป (เหมือนตรรกะที่ผมเขียนข้างบนกรณียุโรป) เพราะฉะนั้น กสทช. ควรจะนำเรื่องนี้ไปพิจารณา และสถานีโทรทัศน์ต่าง ๆ ก็ควรผลักดันและเตรียมตัว พยายามที่จะสู้เพื่อทำการทดสอบการถ่ายทอด HD ให้คนทั่วไปเข้าถึงด้วยครับ